วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

หลอด LED

ปัจจุบันเชื่อว่าหลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า LED ผ่านหูผ่านตากันไม่มากก็น้อย เมื่อพูดถึง LED หลายคนก็นึกถึงโทรทัศน์, จอคอมพิวเตอร์, และบางคนก็อาจจะนึกถึงหลอดไฟ ทว่า LED จริงๆ แล้วคืออะไร ในบทความนี้จะพาผู้อ่านไปไขข้อข้องใจกัน

หลอด LED
(ที่มา : http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/led/thaiLED.htm)
        LED ย่อจาก  Light  emiiting diodes  มีให้เห็นได้ทั่วไปในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  บางครั้งคุณเห็นได้ในนาฬิกาดิจิตอล   รีโมทคอนโทล  หน้าปัดอุปกรณ์ไฟฟ้า โทรทัศน์จัมโบ้   หรือแม้แต่ไฟจราจรตามสี่แยกเป็นต้น
หลอด  LED
    ที่จริงแล้วหลอด  LED  คือหลอดไฟขนาดเล็ก  แต่มีหลักการทำงานแตกต่างจากหลอดไฟมีไส้  เพราะว่าไม่มีการเผาไส้หลอด  ด้งนั้น หลอด  LED  จึงไม่เกิดความร้อน  แสงสว่างเกิดขึ้นจากการเคลื่อนของอิเล็กตรอนภายในสารกึ่งตัวนำ  ซึ่งเป็นวัสดุแบบเดียวกับที่ใช้ในการทำทรานซิสเตอร์
     ฟิสิกส์ราชมงคลจะเข้าไปอธิบายพื้นฐาน  และหลักการทำงานของหลอดไฟที่ไม่มีความร้อนนี้ ว่าเป็นอย่างไร

ไดโอดคืออะไร
    ไดโอดเป็นวัสดุสารกึ่งตัวนำ ที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติการนำไฟฟ้าของมันได้   ปกติวัสดุสารกึ่งตัวนำเป็นตัวนำไฟฟ้าที่เลว  ถ้าเราใส่สารเจือปนเข้าไป  เราสามารถควบคุมการนำไฟฟ้าให้มากหรือน้อยได้   เราเรียกวิธีนี้ว่า  การโดปปิ้ง  (doping) 
     ส่วนใหญ่หลอด  LED  ใช้สาร  อลูมิเนียมกัลเลียม อาร์เซไนล์  ( alumnium-gallium-arsenide ) ย่อเป็น  AlGaAs  เป็นสารกึ่งตัวนำ ถ้ายังไม่ได้ใส่สารเจือปน  พันธะในอะตอมจะเกาะกันอย่างแข็งแรง  ไม่มีอิเล็กตรอนอิสระ  ประจุไฟฟ้าลบ) หรือมีอยู่น้อย  ดังนั้นมันจึงไม่ค่อยจะนำกระแส   แต่เมื่อทำการโดป  โดยการเติมสารเจือปน  ทำให้ความสมดุลของวัสดุเปลี่ยนไป 
      เมื่อเราใส่สารเจือปนแล้วทำให้อิเล็กตรอนอิสระในสารกึ่งตัวนำเพิ่มขึ้น   เรียกว่าสารประกอบชนิด  N    ส่วนสารกึ่งตัวนำที่ใส่สารเจือปนแล้ว มีประจุไฟฟ้าบวกหรือมีหลุมและ โฮลเพิ่มขึ้น   เรียกว่าสารประกอบชนิด  P    โฮล (hole) ในภาษาอังกฤษมีความหมายว่าหลุม  โดยเปรียบอิเล็กตรอนอิสระได้กับลูกหิน และปรจุบวกเป็นหลุมหรือโฮล ที่ลูกหินจะไหลมาตกนั่นเอง
      ไดโอดเกิดจากการนำสารกึ่งตัวนำชนิด  ติดเข้ากับสารกึ่งตัวนำชนิด  P   เชื่อมสายไฟเข้ากับขั้วไฟฟ้าทั้งสอง    เมื่อยังไม่มีการให้แรงดันไฟฟ้า  อิเล็กตรอนอิสระจาก  จะเคลื่อนที่ข้ามรอยต่อไปที่ P   เกิดโซนดีพลีชั่น (depletion)  ขึ้น  โซนนี้เปรียบเทียบได้กับกำแพงป้องกันการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ถ้าโซนนี้มีขนาดใหญ่ขึ้น การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระจะยากขึ้น    และอาจทำให้อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ได้  อย่างไรก็ตามถ้าควบคุมให้โซนนี้เล็กลง การเคลื่อนที่ก็จะง่ายขึ้น  
อิเล็กตรอนอิสระจาก  เคลื่อนที่ข้ามรอยต่อไปลงหลุมที่ P   ทำให้เกิดโซนดีพลีชั่น เป็นฉนวนกั้นการไหลของอิเล็กตรอน
      เพื่อจะทำให้อิเล็กตรอนสามารถเคลื่อนที่ผ่านโซนนี้ได้ง่ายขึ้น  เราต้องทำให้โซนนี้แคบลง  โดยการต่อขั้ว  ของไดโอดเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่   และขั้วบวกเข้ากับขั้ว P   ทำให้อิเล็กตรอนอิสระใน N ถูกดันด้วยแรงดันทางไฟฟ้า  ส่วนโฮลขั้ว จะถูกดันด้วยแรงทางไฟฟ้าเช่นเดียวกัน    ถ้าเราให้แรงดันทางไฟฟ้ามากพอ โซนนี้จะแคบจนหายไป  และอิเล็กตรอนอิสระสามารถเคลื่อนที่ผ่านรอยต่อได้อย่างง่ายดาย  เหมือนกับไม่มีแรงเสียดทาน หรือความต้านทาน
      
เมื่อต่อขั้วลบของแบตเข้ากับ และขั้วบวกเข้ากับ ทำให้อิเล็กตรอนอิสระสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ  เหมือนกับไม่มีความต้านทาน
     ในทางกลับกัน  ถ้าคุณต่อขั้วลบเข้ากับ และขั้วบวกเข้ากับ N   การไหลของอิเล็กตรอนจะเป็นไปได้ยาก เพราะการเคลื่อนที่เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม  โซนดีพลีชั่นจะหนาขึ้น  เป็นกำแพงกั้นการไหลของกระแสไฟฟ้า
เมื่อต่อขั้วบวกของแบตเข้ากับ และขั้วลบเข้ากับ P โซนดีพลีชั่นมีขนาดกว้างขึ้น   อิเล็กตรอนและโฮลไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ
     การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระและโฮล เป็นสาเหตุให้เกิดแสงขึ้นแต่มันเกิดขึ้นได้อย่างไรละ   ในหน้าถัดไปเรามาดูกัน

ไดโอดให้แสงได้อย่างไร
    cแสงเกิดขึ้นจากพลังงานที่ปลดปล่อยจากอะตอม   แสงเป็นโฟตรอนที่มีพลังงานและโมเมนตัม  ดังนั้นจึงเป็นอนุภาคชนิดหนึ่ง  แต่ว่าน่าแปลกที่นักวิทยาศาสตร์บอกว่าไม่มีมวล
      ภายในอะตอม อิเล็กตรอนโคจรรอบนิวเคลียส  และมีวงโคจรหลายวง  แต่ละวงมีพลังงานแตกต่างกัน   วงนอกมีพลังงานมากกว่าวงใน  ถ้าอะตอมได้รับพลังงานจากภายนอก  อิเล็กตรอนจะกระโดดจากวงโคจรในออกสู่วงโคจรนอก  ในทางกลับกัน   ถ้าอิเล็กตรอนกระโดดจากวงโคจรนอกเข้าสู่วงโคจรใน  มันจะปลดปล่อยพลังงานออกมา  และพลังงานนี้ก็คือแสงนั้นเอง
     ขณะที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ผ่านรอยต่อไปที่โฮลของสาร  อิเล็กตรอนจะตกจากวงโคจรสูง หรือแถบนำไฟฟ้า  ไปสู่วงโคจรต่ำหรือแถบวาเลนซ์    มันจะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของโฟตรอน   ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นกับไดโอดทุกชนิด    แต่คุณสามารถเห็นแสงได้ก็ต่อเมื่อ  ความถี่ของพลังงานอยู่ในช่วงความถี่ที่ตามองเห็นได้   ดังเช่นไดโอดที่ทำจากซิลิคอน  ซึ่งมีช่วงของแถบพลังงานแคบ  ทำให้ได้โฟตรอนความถี่ต่ำ  เป็นความถี่ที่ตามองเห็นได้  อย่างไรก็ตาม ความถี่ที่ตามองไม่เห็นก็มีประโยชน์ไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่น  ช่วงอินฟาเรด สามารถนำไปใช้ในเครื่องควบคุมระยะไกลหรือรีโมทคอนโทรล เป็นต้น
 visible  light-emitting  dioded (VLEDS) หรือหลอด LED  ที่ให้กำเนิดแสงในช่วงที่ตามองเห็น   ในรูปภาพคุณสามารถใช้เมาส์คลิกดูการกำเนิดของแสงได้
     เมื่อไดโอดให้แสงออกมาแล้ว  ถ้าเราไม่ควบคุมทิศทาง แสงจะกระจัดกระจาย  และวิ่งออกมาอย่างไม่เป็นระเบียบ  ทำให้ความเข้มของแสงน้อยลง ดังนั้นในหลอด LED  เราจะใช้พลาสติกหุ้ม  และเอียงให้แสงสามารถสะท้อนออกไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้
ควบคุมทิศทางของแสงในหลอด LED

ข้อได้เปรียบ
    หลอด LED  ได้เปรียบหลอดมีไส้  อย่างแรกคือ   มันไม่ต้องใช้การเผาไหม้ของไส้หลอด  จึงมีอายุใช้งานนานกว่า    การใช้พลาสติกหุ้มช่วยให้มีความทนทาน  และง่ายต่อการประกอบลงในแผ่นวงจรไฟฟ้า
    ข้อได้เปรียบสูงสุดคือ ประสิทธิภาพที่สูง  ในหลอดมีไส้  แสงที่ได้ออกมาเกิดจากการเผาไส้หลอดให้ร้อนจนแดง  แน่นอนพลังงานที่สูญเสียจากการเผาไหม้นั้นมากมาย ส่วนหลอด  LED   แทบไม่มีความร้อนเกิดขึ้นออกมาเลย   พลังงานส่วนใหญ่เปลี่ยนไปเป็นแสงทั้งหมด
    แต่ก่อนหลอด LED  มีราคาสูงมาก  ปัจจุบันราคาตกลงมาจนเหลือราคาต่ออันไม่กี่บาท  ทำให้เราสามารถประยุกต์หลอด LED  ไปใช้งานได้อย่างมากมายและหลากหลาย  ในอนาคตมันจะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ขาดเสียไม่ได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น